fix bar
fix bar
fix bar
fix bar
fix bar
fix bar

SLC Knowledge

เคล็ดลับในการสร้างงานวิจัยให้สำเร็จ

  • 8 มิ.ย. 2559
  • Admin
  • SLC
  • 188

การจัดการความรู้เรื่อง “เคล็ดลับในการสร้างงานวิจัยให้สำเร็จ”

ณ สำนักหอสมุดและศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 2 อาคารปิติบำเพ็ญ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

วันที่ 28 เมษายน 2559 เวลา 9.00 - 12.00 น.

………………………………………………………

ผู้เข้าร่วมเสวนา มีจำนวนทั้งหมด 22 คน ประกอบด้วย อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ จำนวน 10 คน คณะ คณะกายภาพบำบัด จำนวน 10 คน คณะจิตวิทยา จำนวน 3 คน สำนักวิชาการศึกษาทั่วไป 1 คน

นอกจากนี้ มีผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์อีก

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มี 3 ประเด็น ได้แก่

  1. เคล็ดลับทำอย่างไรให้ได้หัวข้อเรื่องวิจัย
  2. เคล็ดลับทำอย่างไรให้โครงร่างวิจัยมีคุณภาพ
  3. ดำเนินการวิจัยอย่างไรให้สำเร็จตามเวลา

สาระสำคัญที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปได้ดังนี้

   I. เคล็ดลับทำอย่างไรให้ได้หัวข้อเรื่องวิจัย

  1. พิจารณาจากเรื่องที่มีความสนใจ เรื่องที่มีข้อมูล โดยเริ่มจากงานวิจัยง่ายไปสู่งานวิจัยยาก
  2. มองแนวโน้มใหม่ๆ Creative ย้อนศร เพื่อให้เป็นจุดขาย หลีกเลี่ยงลิขสิทธิ์ทำตามความเร้าใจของกลุ่ม มองในแง่เชิงพาณิชย์ เพิ่มคุณค่า
  3. เริ่มจากความสนใจและต่อเนื่องที่ตนเองทำอยู่ สร้างความเชี่ยวชาญของเราไปข้างหน้า โดยใช้จุดนี้พัฒนางานวิจัยอย่างต่อเนื่อง
  4. มองแหล่งทุนการให้วิจัย และมองว่าตรงไหนที่ตรงกับความเชี่ยวชาญของตนเอง
  5. มองแหล่งทุนการให้วิจัยเป็นหลัก ทำวิจัยตรงกับความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลการวิจัย
  6. มองที่ปัญหาเกิดจาก 3 เรื่อง 1. ปัญหาของตนเอง 2. ปัญหาของคนรอบข้าง 3. ปัญหาของสังคมศาสตร์หลากหลายจะตอบโจทย์อย่างไร คิดประเด็นให้หัวข้อกระชับ Scope งานวิจัยให้แคบจะตอบโจทย์อะไรได้ง่ายขึ้น เป้าหมายเชิงวิชาชีพ อะไรที่เกิดบ่อยต่อตนเอง สังคมรอบข้าง คิดให้เล็กทำให้ได้
  7. เริ่มจากความสนใจส่วนตน ค้นคว้าหาเครือข่ายทำร่วมกัน หาแนวร่วมและแหล่งทุน
  8. ทบทวนเริ่มจากปัญหา ชักชวนให้เห็นว่าเราทำได้ สนใจทุนวิจัยเชื่อมโยงหาแหล่งที่ให้ทุนและ เราสามารถทำได้
  9. เริ่มจากจุดสนใจในงานนักศึกษา
  10. เริ่มจากปัญหา หาทีมทำด้วยกัน มองความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ และความเชี่ยวชาญของทีม
  11. เริ่มจากปัญหา งานวิจัยที่สนใจ สร้างความชำนาญและความก้าวหน้าในตนเอง
  12. มองบริบทอุดมศึกษา ทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ Loop ที่อยากทำ จุดเริ่มต้นของเรา และมีการศึกษาค้นคว้าให้สาระตกผลึกให้ได้
  13. สนใจปัญหาวิจัยชั้นเรียน เน้นนักศึกษา พัฒนาการเรียนการสอน
  14. เน้น Trend ที่คนสนใจ ดูปัญหาที่จะต้องการแก้ไขกับ E-book และ Focus ที่การเรียนการสอน
  15. ดูเรื่องที่ตรงกับ Area ศึกษาค้นคว้าจาก Paper ที่ตรงกับตัวเอง
  16. ศึกษาข้อมูลต่างๆ มองแนวคิดจากต่างประเทศ เรียนรู้ได้ในบริบทของเรา สร้างสรรค์นวัตกรรมใชพัฒนาเน้นติตตามงานวิจัยในและคิดนอกกรอบ

ข้อสรุป

     เริ่มต้นจากความสนใจ ปัญหา ความเชี่ยวชาญของแต่ละคน บริบทของสถาบัน มองหาแหล่งทุนวิจัยแนวคิดทฤษฎีใหม่ๆ และย้อนกลับไปดูทฤษฏีเก่ายังใช้ได้หรือไม่ ดูปัญหาของนักศึกษาเป็นหลัก

   II. เคล็บลับทำอย่างไรให้โครงร่างวิจัยมีคุณภาพ

  1. มี 2 ส่วน 1). การออกแบบ ระเบียบวิธีวิจัย ศึกษาหาองค์ความรู้ Methodology การออกแบบ 2). มีองค์ความรู้ในเรื่องที่ทำวิจัยนั้นๆ ทำให้งานวิจัยมีคุณภาพ 2 ส่วนนี้มีความสำคัญส่งให้โครงร่างงานวิจัยมีคุณภาพ
  2. ทบทวนเลือกงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เครื่องมือวิจัยที่เลือกต้องมีคุณภาพผู้วิจัยมีความชัดเจนในการทำงานให้มีคุณภาพ
  3. ตระหนักความสำคัญของโครงร่างวิจัยที่มีคุณภาพและมีเวลา มุ่ง Epistemology, Philosophy Methodology การตรวจสอบคุณภาพ
  4. เริ่ม Content ของงาน Sample มองความเป็นไปได้
  5. เน้น Literature Review Guide ออกแบบงานวิจัย ให้ความสนใจคุณภาพของโครงร่าง ต้อง Review ให้มาก เป็นเหตุเป็นผล การออกแบบชัดเจน ออกแบบให้ดี เชิงคุณภาพ โครงร่างงานวิจัยตอบโจทย์งานวิจัยได้
  6. ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น อย่ายึดมั่นเกินไป ตั้งเป้าหมายชีวิตให้ได้ผลผลิตออกมา ไม่โลเล ถ่องแท้เรื่องที่จะศึกษา คนที่เป็นนักวิจัยมือใหม่ต้องหา Mentor พร้อมกาย ใจ สังคม
  7. ไม่กลัวว่าอะไรจะเกิดขึ้น ยึดหลักจริยธรรมของงานวิจัย
  8. ให้ความสำคัญกับการทบทวน Review อ่านหลายๆ ครั้ง คิดใหญ่ทำเล็ก ทำเท่าที่ทำได้เป็นข้อจำกัด
  9. ความตั้งใจ ความมุ่งมั่น เน้น Proposal ต้องหาผู้ช่วยที่มีความรู้กว่าเราอย่างน้อย 2 ท่านหรือมากกว่า
  10. ข้อจำกัดที่มี หากมี Mentor งานวิจัยที่ออกมาจะได้คุณภาพ
  11. ศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องราวที่ศึกษา หาคนรอบข้างมีผู้ช่วยวิจัยร่วมกันเขียน ทำให้งานมีคุณภาพ มีการค้นคว้า มีองค์ความรู้ ทีมสำคัญหากทีมไม่ดีอาจใช้เวลานาน แม่นเนื้อหา ไม่โลเล ผ่าน Peer
  12. การทำงานอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงประเด็นให้น่าสนใจ เป็นนักวิจัยหน้าใหม่มีแรงผลักดัน สามารถสร้างงานวิจัยให้มีคุณภาพได้
  13. นักวิจัยมือใหม่ Study โครงร่างงานวิจัยที่มีคุณภาพ หาตัวอย่าง หาคนแนะนำ ลงมือทำ มีคนให้คำปรึกษาและช่วยดูได้
  14. อ่าน Review ให้มากๆ Literature อ่านให้ Clear ทำอย่างไร Coaching ผู้ที่ให้คำแนะนำสำคัญมากทำให้เดินทางถูก การศึกษาค้นคว้า State of problem ชัดเจน

ข้อสรุป

     ต้องเรียนรู้ระเบียบวิจัย มีเวลาทำเพื่อส่งผลให้มีโครงร่างวิจัยออกมาภายใต้จริยธรรม มีความคิดที่เป็นเหตุและผล ต้องเริ่มลงมือทำด้วยตนเองก่อน ก่อนที่ให้คนอื่นทำ จะทำให้โครงร่างวิจัยมีคุณภาพ

   III. ดำเนินการวิจัยอย่างไรให้งานวิจัยสำเร็จตามเวลา

  1. ทำดีๆ ทำครั้งเดียว งานสำเร็จอย่างมีคุณภาพ อย่าทำแบบลวกๆ หาของแปลก มุ่งงาน Classic ในสิ่งใหม่ให้ได้ของแปลก Form เวลาที่ชัดเจน นักศึกษามีส่วนร่วม
  2. มีความเป็นเจ้าของ ถ้าไม่มีความเป็นเจ้าของ จะชลอความมุ่งมั่นและความทุ่มเทไม่เกิด มีวินัยในการ ทำงานเพื่อให้การบริหารงานวิจัยประสบผลสำเร็จบริหารจัดการเวลา มีDiscipline ชีวิตคือชีวิต
  3. ความสำคัญอยู่ที่ตัวเรา วางแผนที่ดี บางช่วงต้องรอเวลา มีวินัย มุ่งมั่น มีสติ มีสมาธิจะทำงานได้เร็ว
  4. สติสำคัญ เน้นที่ตัวเรา ทำโครงร่างให้ถูกตั้งแต่ต้นงานวิจัยจะสำเร็จได้ดี มีผู้เชี่ยวชาญ เน้นหาผู้รู้สนับสนุน
  5. ให้ความสำคัญกับเรื่องเวลาและการวางแผน
  6. โครงร่างที่มีคุณภาพจะส่งผลสำเร็จตามที่กำหนด มีวินัยเร่งตาม Timeline ตามกำหนด ปฏิบัติตามแผนให้ได้
  7. จัดการตัวเอง เอาชนะใจตัวเอง
  8. การเบ่งเวลา มุ่งมั่น
  9. ชนะอุปสรรค อุปสรรคเกิดความรู้ใหม่ ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ก้าวอย่างช้าแต่มั่นคง
  10. มีคนเดินหน้าให้
  11. ความตั้งใจ ความมุ่งมั่น บทเรียนบางอย่างคิดว่าทำอะไรแล้ว Fail อยู่เสมอ โทษคนอื่น โทษตนเอง นึกถึงพระพุทธเจ้า ถ้าไม่ทำจะไม่สำเร็จ ถ้าไม่เสร็จะไม่เลิกทำ วิบากกรรม เชื่อในศักยภาพของตนเอง ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น

ข้อสรุป

     ทำวิจัยให้สำเร็จมีปัจจัยหลายด้าน เริ่มจากตัวเอง การจัดสรรเวลา มีโครงร่างที่ดี รู้ลึกรู้จริง มีความเอื้ออาทรในทีมส่งผลให้งานวิจัยสำเร็จ

Comment

Comments

  • image

    อัชฌา ชื่นบุญ

    08/06/2559 14:44

    การทำวิจัยให้สำเร็จอาจมีหลายองค์ประกอบ ซึ่งแต่ละคนมีเหตุผลและองค์ประกอบที่แตกต่างกันไปออกไป อย่างไรก็ตาม กำลังใจและความมุ่งมั่นเป็นสิ่งสำคัญ ขอเป็นกำลังใจให้กับนักวิจัยทุกท่านทำวิจัยต่อให้สำเร็จค่ะ

  • image

    สรายุธ มงคล

    11/06/2559 23:15

    งานวิจัยเริ่มต้นจากงานที่ง่ายๆแล้วค่อยพัฒนาเป็นงานที่ยากขึ้นก็ดีนะครับ อย่างน้อยได้ลองทำดูสักครั้งโอกาสที่พัฒนาก็จะเพิ่มสูงขึ้น

  • image

    นงคราญ วงษ์ศรี

    14/06/2559 08:51

    คณาจารย์และนักวิจัยทุกท่านที่มีหัวข้อวิจัย สามารถเริ่มเขียนโครงร่างตามแบบฟอร์มที่วิทยาลัยเตียมไว้ให้ และสามารถขอทุนสนับสนนการวิจัยภายในวิทยาลัยได้ โดยส่งโครงร่างวิจัยของท่านมาที่ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมวิชาค่ะ

  • image

    ผกาวลี พุ่มสุทัศน์

    17/07/2559 19:17

    อยากทำวิจัยที่มีคุณภาพ และสำเร็จตามที่มุ่งหวัง กำลังพยายามปรับความคิดและอารมณ์ตามที่หลายท่านนำเสนอ เพื่อการทำวิจัย ที่ต้องอาศัยการควบคุมใจตนเองให้ทำให้ได้ " ทุกคน สู้ สู้ ต้องมีสักวัน ที่ต้องทำได้"

  • image

    ศุภวรรณ ธนุภาพรังสรรค์

    21/07/2559 09:34

    การหา coaching ไม่ยากนะคะ้ แต่การที่จะทำวิจัยเริ่มใหม่ๆต้องมีพี่เลี้ยงในแบบ ระบบ Mentor และที่สำคัญที่สุดคือ ตัวเราเอง ต้องชนะใจตนเองให้ได้ การทำวิจัยเหมือนการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองสร้างปัญญาแก่เราได้ในที่สุดคะ่ ขอเป็นกำลังใจแก่ทุกท่านที่เริ่มทำเขียนโครงร่างนะคะ้

  • image

    จินตนา อาจสันเที๊ยะ

    21/02/2563 09:11

    หาหัวข้อวิจัยจากความสนใจ และหาเครือข่ายความร่วมมือ ชวนกันคิด ชวนกันทำ ชวนกันวิเคราะห์ ชวนกันหาเวทีนำเสนอในต่างประเทศ ก็จะเป็นแรงผลักทางหนึ่งที่จะพัฒนางานวิจัยให้ได้คุณภาพระดับสากลค่ะ แต่ต้องมีงบนำเสนอเตรียมไว้ด้วยทีมจึงจะไปได้ค่ะ

กรุณาทำการ LOG IN เข้าสู่ระบบก่อน ถึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้

ใช้ User ระบบลาออนไลน์ ในการ Login เข้าระบบ.