SLC Knowledge
ทำอย่างไรให้เกิดการตีพิมพ์ผลงานวิจัย เกินเป้าหมาย ??
- 24 ก.พ. 2563
- คณะพยาบาลศาสตร์
- 471
Comment
Comments
-
สุดารัตน์ วงศ์จุลชาติ
24/02/2563 16:23
R to R research is suitable for young researcher.
-
ผ่องศรี อิ่มสอน
26/02/2563 10:43
สิ่งสนับสนุนงานวิจัยควรเพิ่ม Incentive ที่ถูกใจทุกคนนำมาสู่การเกิดงานวิจัยที่มีคุณภาพ
-
จินตนา อาจสันเที๊ยะ
23/03/2563 13:20
ความร่วมมือร่วมใจกัน สร้างเครือข่าย มีเป้าหมายร่วมกันก็จะไปได้ค่ะ
-
มยุรา นพพรพันธุ์
24/03/2563 14:56
ควรกำหนดเป็นตัวชี้วัดส่วนบุคคลในการประเมินผลงานประจำปี ถ้าไม่มีงานวิจัยภายใน 3 ปี จะไม่ขึ้นเงินเดือนให้ จนกว่าจะมีผลงานส่ง
-
มยุรา นพพรพันธุ์
24/03/2563 14:59
และเพื่อกระจายความรับผิดชอบต่อตัวบ่งชี้งานวิขัย ควรกำหนดให้ในแต่ละกลุ่มวิชามีผลงานวิจัยหรือบทความวิชาการอย่างน้อย 3 คน/เรื่อง / 3ปี
-
สุดารัตน์ วงศ์จุลชาติ
06/04/2563 16:48
งานวิจัยควรเริ่มจากการกำหนดนโยบายและเป้าหมายของแต่ละกลุ่มวิชา ควรมีงานวิจัยปีละ 1 เรื่องโดยสลับเปลี่ยนกันเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ถ้าเราไม่มีจุดเริ่มต้น ก็จะไม่มีวันสำเร็จ อย่าคิดว่าการทำวิจัยคือปัญหา แต่ให้คิดว่าการทำวิจัยเป็นโอกาส ส่วนปัญหานั้นสามารถเรียนรู้ได้ วิจัยเรื่องที่ 2 จะดีกว่าเรื่องแรก วิจัยเรื่องที่ 3 จะดีกว่าวิจัยเรื่องที่สอง ทุกวินาทีคือการเรียนรู้ ขอเป็นกำลังใจให้เรียนรู้ไปด้วยกันค่ะ
-
กชกร ธรรมนำศีล
08/04/2563 17:08
KM การสร้างผลงานวิจัย(ตีพิมพ์) 1. หัวหน้ากลุ่มวิชาวางแผนร่วมกับผู้ทำวิจัยในกลุ่มวิชา ในหัวข้อที่สนใจ โดยมีระบบพี่เลี้ยงในการให้คำปรึกษาเรื่องวิจัย พี่พาน้องทำ ส่วนนักวิจัยรุ่นใหม่ให้น้องมามีส่วนร่วมในงานและเรียนรู้งานร่วมกัน เพื่อให้เห็นกระบวนการขั้นตอน สร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์ผลงาน 2. เรื่องที่สนใจทำ ควรเปิดกว้างทางความคิด ทำในเรื่องที่สนใจอยากทำดีกว่าบังคับ จะได้เกิดความสบายใจทั้งผู้ทำและผู้สนับสนุนให้ทำ 3. การสนับสนุนทุนวิจัยภายใน ควรลดขั้นตอนในบางเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณ ที่ให้คาดประมาณงบประมาณอย่างละเอียดและขาดความยืดหยุ่น ซึ่งการทำงานในบางครั้ง งานไม่เป็นไปตามเป้า เกินงบประมาณในบางหัวข้อที่กำหนดไว้ ทำให้ผู้ทำ ต้องจ่ายเงินส่วนเกินเยอะ เป็นส่วนนึงที่ทำให้ไม่อยากดำเนินการต่อ หรือบางขั้นตอนของกระบวนการขอทุนลงรายละเอียดมาก ทำให้ไม่อยากทำและเกิดความเบื่อหน่าย งานก็ไม่สำเร็จ จึงอยากให้เอื้อกันได้ทั้งสองฝ่าย เพื่อให้เกิดงานตามเป้าได้มากที่สุด
-
อนุชา พรมกันยา
09/04/2563 16:24
1. มีการเชิญนักสถิติมาอบรมอย่างต่อเนื่องทุกปี เชิญผู้เชียวชาญการทำวิจัยหลายๆรูปแบบมาให้ความรู้ให้เปิดกว้าง 2. ผู้บริหารควรมีนโยบายที่เอื้อให้ผู้ปฏิบัติ และมีทุนสนับสนุนอย่างเพียงพอ การให้ร่างวัลและแรงจูงใจมีผลต่อการพัฒนา 3. เปิด Clinic วิจัยและสถิติ เป็น platform online ให้เข้าไปปรึกษาโดยไม่ต้องเดินไปปรึกษาในห้อง มีผู้เชี่ยวชาญตอบคำถาม
-
วาสนา รุ่งโรจน์วัฒนา
10/04/2563 21:14
การได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานและพี่เลี้ยง เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าในงานวิจัย
-
มานิดา เดชากุล
12/04/2563 09:26
อาจารย์ตั้งเป้าหมายการทำวิจัย และพยายามทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และหากคณะจะช่วยเหลือส่งอาจารย์ที่จะตีพิมพ์วิจัยไปอบรมวิชาการเกี่ยวกับการทำบทความหรือการตีพิมพ์วิจัย ก็จะช่วยส่งเสริมให้อาจารย์มีศักยภาพมากขึ้นค่ะ
-
กาญจนา ปัญญาเพ็ชร์
13/04/2563 06:01
1. ให้มีระบบพี่เลี้ยง เพื่อช่วยเหลืออาจารย์น้องใหม่ที่เริ่มทำวิจัย หรือให้เข้าร่วมกลุ่มทำด้วยกัน 2. เปิดโอกาสให้อาจารย์จัดสรรเวลาในการทำวิจัยได้มากขึ้น กระจายภาระงานให้ทั่วถึง 3. สถาบันควรให้เิงินทุนในการทำวิจัย โดยไม่มีข้อผูกมัดมากกเกินไป และลดขั้นตอนในการเบิกงบประมาณ 4. มีแหล่งค้นคว้าข้อมูลที่ทันสมัย และเข้าถึงได้ง่ายจากที่ทำงาน
กรุณาทำการ LOG IN เข้าสู่ระบบก่อน ถึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้
© 2018 Copyright by Saint Louis College.