SLC Knowledge
เคล็ดลับในการสร้างงานวิจัยให้สำเร็จ
- 8 มิ.ย. 2559
- Admin
- SLC
- 614
การจัดการความรู้เรื่อง “เคล็ดลับในการสร้างงานวิจัยให้สำเร็จ”
ณ สำนักหอสมุดและศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 2 อาคารปิติบำเพ็ญ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
วันที่ 28 เมษายน 2559 เวลา 9.00 - 12.00 น.
………………………………………………………
ผู้เข้าร่วมเสวนา มีจำนวนทั้งหมด 22 คน ประกอบด้วย อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ จำนวน 10 คน คณะ คณะกายภาพบำบัด จำนวน 10 คน คณะจิตวิทยา จำนวน 3 คน สำนักวิชาการศึกษาทั่วไป 1 คน
นอกจากนี้ มีผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์อีก
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มี 3 ประเด็น ได้แก่
- เคล็ดลับทำอย่างไรให้ได้หัวข้อเรื่องวิจัย
- เคล็ดลับทำอย่างไรให้โครงร่างวิจัยมีคุณภาพ
- ดำเนินการวิจัยอย่างไรให้สำเร็จตามเวลา
สาระสำคัญที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปได้ดังนี้
I. เคล็ดลับทำอย่างไรให้ได้หัวข้อเรื่องวิจัย
- พิจารณาจากเรื่องที่มีความสนใจ เรื่องที่มีข้อมูล โดยเริ่มจากงานวิจัยง่ายไปสู่งานวิจัยยาก
- มองแนวโน้มใหม่ๆ Creative ย้อนศร เพื่อให้เป็นจุดขาย หลีกเลี่ยงลิขสิทธิ์ทำตามความเร้าใจของกลุ่ม มองในแง่เชิงพาณิชย์ เพิ่มคุณค่า
- เริ่มจากความสนใจและต่อเนื่องที่ตนเองทำอยู่ สร้างความเชี่ยวชาญของเราไปข้างหน้า โดยใช้จุดนี้พัฒนางานวิจัยอย่างต่อเนื่อง
- มองแหล่งทุนการให้วิจัย และมองว่าตรงไหนที่ตรงกับความเชี่ยวชาญของตนเอง
- มองแหล่งทุนการให้วิจัยเป็นหลัก ทำวิจัยตรงกับความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลการวิจัย
- มองที่ปัญหาเกิดจาก 3 เรื่อง 1. ปัญหาของตนเอง 2. ปัญหาของคนรอบข้าง 3. ปัญหาของสังคมศาสตร์หลากหลายจะตอบโจทย์อย่างไร คิดประเด็นให้หัวข้อกระชับ Scope งานวิจัยให้แคบจะตอบโจทย์อะไรได้ง่ายขึ้น เป้าหมายเชิงวิชาชีพ อะไรที่เกิดบ่อยต่อตนเอง สังคมรอบข้าง คิดให้เล็กทำให้ได้
- เริ่มจากความสนใจส่วนตน ค้นคว้าหาเครือข่ายทำร่วมกัน หาแนวร่วมและแหล่งทุน
- ทบทวนเริ่มจากปัญหา ชักชวนให้เห็นว่าเราทำได้ สนใจทุนวิจัยเชื่อมโยงหาแหล่งที่ให้ทุนและ เราสามารถทำได้
- เริ่มจากจุดสนใจในงานนักศึกษา
- เริ่มจากปัญหา หาทีมทำด้วยกัน มองความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ และความเชี่ยวชาญของทีม
- เริ่มจากปัญหา งานวิจัยที่สนใจ สร้างความชำนาญและความก้าวหน้าในตนเอง
- มองบริบทอุดมศึกษา ทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ Loop ที่อยากทำ จุดเริ่มต้นของเรา และมีการศึกษาค้นคว้าให้สาระตกผลึกให้ได้
- สนใจปัญหาวิจัยชั้นเรียน เน้นนักศึกษา พัฒนาการเรียนการสอน
- เน้น Trend ที่คนสนใจ ดูปัญหาที่จะต้องการแก้ไขกับ E-book และ Focus ที่การเรียนการสอน
- ดูเรื่องที่ตรงกับ Area ศึกษาค้นคว้าจาก Paper ที่ตรงกับตัวเอง
- ศึกษาข้อมูลต่างๆ มองแนวคิดจากต่างประเทศ เรียนรู้ได้ในบริบทของเรา สร้างสรรค์นวัตกรรมใชพัฒนาเน้นติตตามงานวิจัยในและคิดนอกกรอบ
ข้อสรุป
เริ่มต้นจากความสนใจ ปัญหา ความเชี่ยวชาญของแต่ละคน บริบทของสถาบัน มองหาแหล่งทุนวิจัยแนวคิดทฤษฎีใหม่ๆ และย้อนกลับไปดูทฤษฏีเก่ายังใช้ได้หรือไม่ ดูปัญหาของนักศึกษาเป็นหลัก
II. เคล็บลับทำอย่างไรให้โครงร่างวิจัยมีคุณภาพ
- มี 2 ส่วน 1). การออกแบบ ระเบียบวิธีวิจัย ศึกษาหาองค์ความรู้ Methodology การออกแบบ 2). มีองค์ความรู้ในเรื่องที่ทำวิจัยนั้นๆ ทำให้งานวิจัยมีคุณภาพ 2 ส่วนนี้มีความสำคัญส่งให้โครงร่างงานวิจัยมีคุณภาพ
- ทบทวนเลือกงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เครื่องมือวิจัยที่เลือกต้องมีคุณภาพผู้วิจัยมีความชัดเจนในการทำงานให้มีคุณภาพ
- ตระหนักความสำคัญของโครงร่างวิจัยที่มีคุณภาพและมีเวลา มุ่ง Epistemology, Philosophy Methodology การตรวจสอบคุณภาพ
- เริ่ม Content ของงาน Sample มองความเป็นไปได้
- เน้น Literature Review Guide ออกแบบงานวิจัย ให้ความสนใจคุณภาพของโครงร่าง ต้อง Review ให้มาก เป็นเหตุเป็นผล การออกแบบชัดเจน ออกแบบให้ดี เชิงคุณภาพ โครงร่างงานวิจัยตอบโจทย์งานวิจัยได้
- ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น อย่ายึดมั่นเกินไป ตั้งเป้าหมายชีวิตให้ได้ผลผลิตออกมา ไม่โลเล ถ่องแท้เรื่องที่จะศึกษา คนที่เป็นนักวิจัยมือใหม่ต้องหา Mentor พร้อมกาย ใจ สังคม
- ไม่กลัวว่าอะไรจะเกิดขึ้น ยึดหลักจริยธรรมของงานวิจัย
- ให้ความสำคัญกับการทบทวน Review อ่านหลายๆ ครั้ง คิดใหญ่ทำเล็ก ทำเท่าที่ทำได้เป็นข้อจำกัด
- ความตั้งใจ ความมุ่งมั่น เน้น Proposal ต้องหาผู้ช่วยที่มีความรู้กว่าเราอย่างน้อย 2 ท่านหรือมากกว่า
- ข้อจำกัดที่มี หากมี Mentor งานวิจัยที่ออกมาจะได้คุณภาพ
- ศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องราวที่ศึกษา หาคนรอบข้างมีผู้ช่วยวิจัยร่วมกันเขียน ทำให้งานมีคุณภาพ มีการค้นคว้า มีองค์ความรู้ ทีมสำคัญหากทีมไม่ดีอาจใช้เวลานาน แม่นเนื้อหา ไม่โลเล ผ่าน Peer
- การทำงานอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงประเด็นให้น่าสนใจ เป็นนักวิจัยหน้าใหม่มีแรงผลักดัน สามารถสร้างงานวิจัยให้มีคุณภาพได้
- นักวิจัยมือใหม่ Study โครงร่างงานวิจัยที่มีคุณภาพ หาตัวอย่าง หาคนแนะนำ ลงมือทำ มีคนให้คำปรึกษาและช่วยดูได้
- อ่าน Review ให้มากๆ Literature อ่านให้ Clear ทำอย่างไร Coaching ผู้ที่ให้คำแนะนำสำคัญมากทำให้เดินทางถูก การศึกษาค้นคว้า State of problem ชัดเจน
ข้อสรุป
ต้องเรียนรู้ระเบียบวิจัย มีเวลาทำเพื่อส่งผลให้มีโครงร่างวิจัยออกมาภายใต้จริยธรรม มีความคิดที่เป็นเหตุและผล ต้องเริ่มลงมือทำด้วยตนเองก่อน ก่อนที่ให้คนอื่นทำ จะทำให้โครงร่างวิจัยมีคุณภาพ
III. ดำเนินการวิจัยอย่างไรให้งานวิจัยสำเร็จตามเวลา
- ทำดีๆ ทำครั้งเดียว งานสำเร็จอย่างมีคุณภาพ อย่าทำแบบลวกๆ หาของแปลก มุ่งงาน Classic ในสิ่งใหม่ให้ได้ของแปลก Form เวลาที่ชัดเจน นักศึกษามีส่วนร่วม
- มีความเป็นเจ้าของ ถ้าไม่มีความเป็นเจ้าของ จะชลอความมุ่งมั่นและความทุ่มเทไม่เกิด มีวินัยในการ ทำงานเพื่อให้การบริหารงานวิจัยประสบผลสำเร็จบริหารจัดการเวลา มีDiscipline ชีวิตคือชีวิต
- ความสำคัญอยู่ที่ตัวเรา วางแผนที่ดี บางช่วงต้องรอเวลา มีวินัย มุ่งมั่น มีสติ มีสมาธิจะทำงานได้เร็ว
- สติสำคัญ เน้นที่ตัวเรา ทำโครงร่างให้ถูกตั้งแต่ต้นงานวิจัยจะสำเร็จได้ดี มีผู้เชี่ยวชาญ เน้นหาผู้รู้สนับสนุน
- ให้ความสำคัญกับเรื่องเวลาและการวางแผน
- โครงร่างที่มีคุณภาพจะส่งผลสำเร็จตามที่กำหนด มีวินัยเร่งตาม Timeline ตามกำหนด ปฏิบัติตามแผนให้ได้
- จัดการตัวเอง เอาชนะใจตัวเอง
- การเบ่งเวลา มุ่งมั่น
- ชนะอุปสรรค อุปสรรคเกิดความรู้ใหม่ ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ก้าวอย่างช้าแต่มั่นคง
- มีคนเดินหน้าให้
- ความตั้งใจ ความมุ่งมั่น บทเรียนบางอย่างคิดว่าทำอะไรแล้ว Fail อยู่เสมอ โทษคนอื่น โทษตนเอง นึกถึงพระพุทธเจ้า ถ้าไม่ทำจะไม่สำเร็จ ถ้าไม่เสร็จะไม่เลิกทำ วิบากกรรม เชื่อในศักยภาพของตนเอง ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
ข้อสรุป
ทำวิจัยให้สำเร็จมีปัจจัยหลายด้าน เริ่มจากตัวเอง การจัดสรรเวลา มีโครงร่างที่ดี รู้ลึกรู้จริง มีความเอื้ออาทรในทีมส่งผลให้งานวิจัยสำเร็จ
Comment
Comments
-
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัชฌา ชื่นบุญ
08/06/2559 14:44
การทำวิจัยให้สำเร็จอาจมีหลายองค์ประกอบ ซึ่งแต่ละคนมีเหตุผลและองค์ประกอบที่แตกต่างกันไปออกไป อย่างไรก็ตาม กำลังใจและความมุ่งมั่นเป็นสิ่งสำคัญ ขอเป็นกำลังใจให้กับนักวิจัยทุกท่านทำวิจัยต่อให้สำเร็จค่ะ
-
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ สรายุธ มงคล
11/06/2559 23:15
งานวิจัยเริ่มต้นจากงานที่ง่ายๆแล้วค่อยพัฒนาเป็นงานที่ยากขึ้นก็ดีนะครับ อย่างน้อยได้ลองทำดูสักครั้งโอกาสที่พัฒนาก็จะเพิ่มสูงขึ้น
-
ดร. นงคราญ วงษ์ศรี
14/06/2559 08:51
คณาจารย์และนักวิจัยทุกท่านที่มีหัวข้อวิจัย สามารถเริ่มเขียนโครงร่างตามแบบฟอร์มที่วิทยาลัยเตียมไว้ให้ และสามารถขอทุนสนับสนนการวิจัยภายในวิทยาลัยได้ โดยส่งโครงร่างวิจัยของท่านมาที่ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมวิชาค่ะ
-
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ผกาวลี พุ่มสุทัศน์
17/07/2559 19:17
อยากทำวิจัยที่มีคุณภาพ และสำเร็จตามที่มุ่งหวัง กำลังพยายามปรับความคิดและอารมณ์ตามที่หลายท่านนำเสนอ เพื่อการทำวิจัย ที่ต้องอาศัยการควบคุมใจตนเองให้ทำให้ได้ " ทุกคน สู้ สู้ ต้องมีสักวัน ที่ต้องทำได้"
-
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ ศุภวรรณ ธนุภาพรังสรรค์
21/07/2559 09:34
การหา coaching ไม่ยากนะคะ้ แต่การที่จะทำวิจัยเริ่มใหม่ๆต้องมีพี่เลี้ยงในแบบ ระบบ Mentor และที่สำคัญที่สุดคือ ตัวเราเอง ต้องชนะใจตนเองให้ได้ การทำวิจัยเหมือนการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองสร้างปัญญาแก่เราได้ในที่สุดคะ่ ขอเป็นกำลังใจแก่ทุกท่านที่เริ่มทำเขียนโครงร่างนะคะ้
-
รองศาสตราจารย์ ดร. จินตนา อาจสันเที๊ยะ
21/02/2563 09:11
หาหัวข้อวิจัยจากความสนใจ และหาเครือข่ายความร่วมมือ ชวนกันคิด ชวนกันทำ ชวนกันวิเคราะห์ ชวนกันหาเวทีนำเสนอในต่างประเทศ ก็จะเป็นแรงผลักทางหนึ่งที่จะพัฒนางานวิจัยให้ได้คุณภาพระดับสากลค่ะ แต่ต้องมีงบนำเสนอเตรียมไว้ด้วยทีมจึงจะไปได้ค่ะ
กรุณาทำการ LOG IN เข้าสู่ระบบก่อน ถึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้
© 2018 Copyright by Saint Louis College.